จิตตาภิบาล

Rate this post

         จิตตาภิบาล มาจากคำศัพท์ภาษาอังกฤษว่า “Chaplain” หรือ “Chaplaincy” ซึ่งพัฒนามาจากคำศัพท์ “Chapel” หมายถึง “วัดน้อย” หรือ “วัดประจำสำนักพระราชวัง หรืออารามนักบวช” พระสงฆ์ที่ทำหน้าที่จิตตาภิบาล จะทำหน้าที่ดูแลเอาใจใส่ต่อการปฏิบัติศาสนจักร หรือชีวิตในฐานะ ศาสนิกชน โดยเน้นการร่วมพิธีกรรมและรับศีลศักดิ์สิทธิ์ เพื่อการฟื้นฟูและรักษาความสัมพันธ์อันดีงามระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า เช่นเดียวกับการสอนพระธรรมคำสอนแก่เยาวชนและผู้ใหญ่ของกลุ่มคนหรือชุมชนนั้นๆ งานจิตตาภิบาล มีความสำคัญในกระบวนการจัดการศึกษาเพราะเป็นกระบวนการเน้นคุณค่าของ “ชีวิตจิต” ให้เป็นหลักสำคัญของการพัฒนามนุษย์ในด้านอื่นๆ

แนวคิดทางการอภิบาลของพระศาสนจักร

จิตตาภิบาล เดิมเรียกว่า งานอภิบาลดูแลคริสตชนเฉพาะกลุ่ม ซึ่งพระศาสนจักรจะแต่งตั้งพระสงฆ์หรือศาสนบริการให้ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะ เรียกว่า “จิตตาธิการ” เช่น จิตตาธิการในกองทหาร หรือจิตตาธิการอารามนักบวช ฯลฯ

ต่อมา ภารกิจด้านการอภิบาลสัตบุรุษ เริ่มมีงานเฉพาะด้านเพิ่มมากขึ้น เช่นงานอภิบาลเยาวชน งานกลุ่มกิจการคาทอลิก ได้แก่ คณะพลมารี คณะวินเซนต์ เดอ ปอล คณะพลศีล จึงต้องการพระสงฆ์หรือผู้ทำหน้าที่ จิตตาธิการ เพื่อเป็นผู้กำกับจิตตารมณ์และคำสอนของพระศาสนจักรในขบวนการคาทอลิกนั้นๆ เป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำ และผู้ตัดสินหรือชี้ขาดเกี่ยวกับหลักธรรมหรือเทวศาสตร์ สัจธรรมเพื่อให้สมาชิกได้เข้าใจและสามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง

ปัจจุบัน สถานศึกษามีความต้องการบุคลากรของพระศาสนจักรทำหน้าที่ “จิตตาธิการ” ประจำสถานศึกษา เพื่อเป็นหลักสำหรับการจัดการศึกษา เป็นที่ปรึกษาในการตัดสินปัญหาอันเกี่ยวเนื่องหลักธรรมคำสอนและจิตตารมณ์ของพระศาสนจักร กับสถานการณ์ทางสังคมที่มีความแตกต่าง หลากหลายและได้รับอิทธิพลทางอารยธรรมและศีลธรรมที่หลงไปกับกระแส “วัตถุนิยม บริโภคนิยมและปัจเจกนิยม” โดยละเลยคุณค่าและศักดิ์ศรีของมนุษย์และสังคม แต่ด้วยอิทธิพลของงานอภิบาลสัตบุรุษ และมุ่งแนวคิดด้านความเอาใจใส่ หรือความเป็นบิดา มากกว่า การเป็นนักปกครอง จึงนิยมเรียก “จิตตาภิบาล”

หลักการ

การจัดการศึกษาคาทอลิกเพื่อพัฒนาสังคมไทย เป็นภารกิจบริการและรับใช้ประชาชนคนไทย เพื่อพัฒนาเยาวชนและผู้ใหญ่ให้มีการศึกษาที่ดี จะได้สามารถตระหนักในศักดิ์ศรีและคุณค่าแห่งความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ และมีศักยภาพ ความสามารถในการทำหน้าที่ของตนและการทำงานเพื่อสังคมด้วยความรับผิดชอบและสร้างสรรค์ให้เจริญก้าวหน้า เป็นสังคมแห่งความรักใคร่ปรองดอง สมานฉันท์ และอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข ในบริบททางสังคมการสืบสานภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย

 

บทบาทและหน้าที่ของพระศาสนจักรจึงต้องเป็น

  1. เมล็ดพันธุ์ แห่งพระอาณาจักรพระเจ้า เป็นแหล่งภูมิปัญญาและหลักอ้างอิง
  2. เครื่องหมาย ของพระอาณาจักรพระเจ้า ด้วยการเป็นประจักษ์พยาน
  3. เครื่องมือ ในความพยายามร่วมสร้างพระอาณาจักรพระเจ้าในทุกมิติของชีวิตมนุษย์

 

บทบาทหน้าที่จิตตาภิบาลในสถานศึกษา

        งานจิตตาภิบาลจึงเป็นพันธกิจของบุคคลแห่งพระศาสนจักร และงานสำคัญที่เสริมสร้างให้การศึกษาเป็นเครื่องมืออันทรงคุณค่าของการแพร่ธรรม หรือการประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบันให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

  1. จิตตาภิบาลกับการจัดการศึกษา

           ระบบการจัดการศึกษาคาทอลิกมีธรรมชาติการศึกษาที่มุ่งเน้นคุณค่า และความสำคัญของมนุษย์ และเป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์เพื่อเป็นบุคคลที่สมบูรณ์ ตามคำสอนแห่งพระวรสารของพระเยซูคริสตเจ้าและพระศาสนจักร

             1) เน้นความสำคัญของครู เป็นความสำคัญลำดับแรกในการจัดการศึกษา

             2) ให้ความสำคัญกับการศึกษาด้านจิตใจและอภิบาลเอาใจใส่นักเรียน การปฏิบัติศาสนกิจและหน้าที่ตามข้อกำหนดของศาสนาเพื่อเป็นศาสนิกชนที่ดีในขณะที่ตระหนักดีว่าผู้บริหารต้องเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ครูและนักเรียนด้วย

             3) เน้นการอภิบาลโดยให้ความสำคัญต่อการจัดบรรยากาศของโรงเรียน เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม

             4) ส่งเสริมและอภิบาลเอาใส่ใจต่อชีวิต ปลูกฝังค่านิยมที่ดีแห่งการรับใช้ และการบำเพ็ญประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันเพื่อเป็นสมาชิกของสังคมและพลเมืองที่ดีของประเทศ

             5) ส่งเสริมการทำงานร่วมกับผู้อื่น เน้นความรับผิดชอบหน้าที่ และมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันแม้จะนับถือศาสนาหรือมีบุคลิกลักษณะวัฒนธรรมต่างกันบนพื้นฐานของคุณภาพและจิตใจดีงาม

 

  1. จิตตาภิบาลกับการสอนคำสอนและกิจการแพร่ธรรมเยาวชน

              ภารกิจของการอภิบาลนักเรียนและบุคลากรของสถานศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาให้เป็นสนามแห่งการแพร่ธรรม แสดงออกโดยความเอาใจใส่ในการจัดการสอนหรือศึกษาพระธรรมคำสอน และกิจกรรมฝึกฝน และอภิบาลเยาวชนในสถานศึกษา ให้เยาวชนได้พัฒนาตนเองเต็มศักยภาพของแต่ละบุคคลและเต็มความสามารถของผู้บริหารสถานศึกษาที่รับผิดชอบ

 

  1. จิตตาภิบาลกับการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในหลักสูตรและการเรียนการสอน

              อัครสังฆมณฑลกรุงเทพฯ ตระหนักถึงความสำคัญของหลักสูตรการศึกษา และกระบวนการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการบูรณาการคุณธรรมจริยธรรมในกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียนอย่างแท้จริง ในระบบการศึกษาทั้ง 3 ประเภทคือ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ในทุกระดับการศึกษา

 จิตตาภิบาลกับการจัดกิจกรรมและการปกครองนักเรียน

  1. จิตตาภิบาลกับกระบวนการศาสนสัมพันธ์และวัฒนธรรมสัมพันธ์
  2. จิตตาภิบาลผู้แทนพระศาสนจักรในสนามการศึกษาอบรม
  3. จิตตาภิบาลกับการอภิบาลบุคลากรและชุมชนโรงเรียน
  4. จิตตาภิบาลกับชีวิตเยาวชน ผู้เป็นอนาคตของสังคม

 

ที่มาของข้อมูล

กิตติภัทร คล้ายสมบัติ อายุ 36 ทำงานบนเว็บไซต์ edba.in.th จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เวลาว่างเขาสนุกกับการใช้เวลากับภรรยาและแมวสามตัวของพวกเขา

กิตติภัทร คล้ายสมบัติ

กิตติภัทร คล้ายสมบัติ เป็นแพทย์ผิวหนังอายุ 36 ปีที่ทำงานกับผู้ป่วยที่มีปัญหาผิวและความผิดปกติเกี่ยวกับผิวหนังที่หายาก เขาจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม เมื่อเขาไม่ทำงานเขาสนุกกับการใช้เวลากับภรรยาและแมวสามตัวของพวกเขา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *